จาก บ้านมณีพฤกษ์ ไปถึง บ่อเกลือ..

 

"ชุมชน บ้านมณีพฤกษ์" 

ชื่ออาจจะไม่คุ้นหูกับนักท่องเที่ยวทั่วไปเท่าไหร่ แต่รับรองความประทับใจ ความสวยงาม ความเป็นกันเองของชาวม้งทีนี้

อากาศที่บริสุทธิ์ และ กาแฟแสนอร่อย..

เริ่มต้นเดินทางกันเลยดีกว่า..

เรา เดินทางด้วยรถทัวร์ มาลงที่ บขส น่าน แล้วหาเช่ามอไซค์ แถวๆหลัง บขส.ค่ะ วันละ 350 บาท

(โตโน่ คาร์เร้นท์) *แนะนำให้โทรจองก่อนนะคะ

มาตามเส้นทางหลวง 101 ขึ้นมาทาง อ.เชียงกลาง

จากตัวเมืองจนถึง บ้านมณีพฤกษ์ ระยะประมาณ 108 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชม. ค่ะ

แวะรายทางบ้าง เพราะมันสวยจนละสายตาไม่ได้เลย

มองไปไกล สุดลูกหูลูกตา..

เล่าให้ฟัง นิดนึง เรื่องของชาวมณีพฤกษ์ นะคะ

เดิมพื้นที่แห่งนี้ เป็นชุมชนชาวม้ง ที่แต่เดิมทำเกษตร คือ ปลูกฝิ่น เป็นหลัก 

แต่เพิ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสได้เพียงไม่กี่ปี ...ยังสดใหม่มากๆ

ชาวบ้านที่นี้ เป็น ชาวเผ่าม้ง ซึ่งยังคงวัฒนธรรมไว้อย่างสมบูรณ์แบบ ปรุงแต่งจากโลกภายนอกน้อยมากๆ

เช้าวันที่ 2 เดินทางไปจุด Hi light ของหมู่บ้าน คือ "ดอยผาผึ้ง"

โดยสารจากตัวหมู่บ้านขึ้นไปด้วย "รถอิแต๊น" 

ผ่านหมู่บ้านไป..

ทางขึ้นระยะทางประมาณเกือบ 3 กิโล..ซึ่ง มัน โหด มาก!!

หากขึ้นมาช่วงหลังฝน ทางยังแฉะ สดใหม่ ต้องขึ้นด้วย อิแต๊นคันนี้เท่านั้น..!

มาดูกันนนนน!

อื้อหื้อ.. "พี่คะ เราจะถึงกันแบบปลอดภัยใช่มั้ย"

"พี่เค้าก็ ..หัวเราะ" ..อ้าว!

บางช่วงคือ ลงเดิน ไปก่อน ..ทางแบบนี้.. 

หิวไมโล!!!!!

"กรมทางหลวงก็ทำไม่ได้ ทางหลวงชนบท...ก็อย่าหวัง" 

ใครจะซ่อมทางได้เร็วขนาดนี้ ไม่มี..

คุณพระ!!! "เราจะถึงกันปลอดภัยใช่มั้ยคะ 55555"

อ่าห์....สภาพ (น้ำตาจะไหล) 

ขอ HOW TO ซักรองเท้าให้ขาวใส
เหมือนไม่เคยใส่มาก่อน.

.

สุดท้าย เราก็ถึง เย่!

 

กลับมาในหมู่บ้าน..

ความบังเอิญมาเจอ พิธีและวิถีของชาวเผ่าทีนี้

พิธีปล่อยวิญญาณ | ตีมีดโบราณ | ปักผ้าลายดั้งเดิม ของเผ่าม้ง

เผ่าม้ง 300 กว่าครัวเรือน ประชากรประมาณ 2,000คน ในหมู่บ้านมณีพฤกษ์ 
พื้นที่ในหุบเขาที่การเดินทางค่อนข้างลำบาก เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวได้ไม่นาน กลิ่นไอความสมบูรณ์ของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และธรรมชาติยังไม่ถูกเปลี่ยน

 

'พิธีปล่อยวิญญาณ' วันนี้ก็นับเป็นเรื่องบังเอิญ 
หรือเรียกภาษาคนเมืองว่า 'ทำบุญร้อยวัน' นั้นแหละ
ชาวเผ่าม้ง อยู่กับความเชื่อหลากหลายอย่าง 
บางอย่างก็ไม่น่าเชื่อว่าจะยังคงมีอยู่ในยุคนี้ 
ทั้งหมอผี หมอตำแย หมอแคน ไล่ผี ไล่วิญญาณกันสารพัด ..

ว่าด้วยเรื่องวันพิธีปล่อยวิญญาณ ชาวบ้านจะมารวมกันที่บ้านหลังนั้นๆ เพื่อไว้อาลัย ทำบุซร่วมกัน มีพิธีต่างๆ อีกนัยนึงคือ ชาวบ้านก็ได้พบปะ แลกเปลี่ยนพูดคุยกันทั้งวัน..
หมอผี ทำหน้าที่หลักในพิธี (มาถ่ายไม่ทันเพราะขึ้นดอยอยู่) จากนั้นก็จะเอาข้าวปุก หรือข้าวเหนียวตำจนเนียนไม่เป็นเม็ด มาใส่กระด้งใหญ่ๆ ไหว้ในบ้านกับเครื่องกระดาษเผาต่างๆ หลังจากเสร็จพิธี หมอผีจะเอากระด้งที่ไหว้นั้นไปกลิ้ง! 
ถ้าหงาย..แปลว่าวิญญาณคนตายยังอยู่ ไม่ไปไหน.. ถ้าคว่ำคือวิญญาณไปสู่สุขคติแล้ว! 
หลังจากคำอธิบายก็เลยรีบถาม ..อ้าว!ถ้ากลิ้งแล้วหงายตลอด ทำไงคะ?... เค้าก็จะสวดส่งวิญญาณ แล้วกลิ้งจนกว่าจะคว่ำ !

ผู้เฒ่าตีมีด..
คนเป่านี้ถือว่าการตีมีดเป็นศิลปะส่วนบุคคล
แต่จะมี หมอมีด ประจำเผ่า เช่นคุณตาท่านนี้
ตีมีดมา3ช่วงอายุแล้ว ตั้งแต่หนุ่มๆ รุ่นพ่อ จนรุ่นปู่.. มีดในหมู่บ้านหลังไหนไม่คม ถือเป็นเรื่องใหญ่! 55555

แม่เฒ่าปักผ้า..
จริงๆแล้วผู้คนในหมู่บ้านวัยหนุ่มสาวจะเน้นการออกไปทำไร่ ทำเกษตร 
แต่คนเฒ่าคนแก่ ที่อยู่บ้าน ก็จะทำเครื่องสาน ปักผ้า ถ้าขยันๆ ก็จะส่งออกไปขายนอกหมู่บ้าน
ผู้ส่วที่แต่งงาน ก็จะปักเสื้อผ้าให้สามีสวมใส่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ..ผู้ชายใส่ทั่วหมู่บ้านเลย คิดว่าคงแต่งงานกันเบิ่ดแล่ว..555

 

กาแฟดริป.. รสชาติ บางแต่แตกต่าง 

กาแฟของบ้านมณีพฤกษ์ขึ้นชื่อเรื่องความแตกต่าง เพราะเป็นสายพันธ์ุที่ชื่อว่า "เกอิชา"

เป็นรสขมอมเปรี้ยว แบบเบอร์รี่ ติดปลายลิ้น

ไม่แปลกใจเลย ..ที่เค้าเล่ากันว่า "กาแฟนางฟ้า เบอร์หนึ่ง แห่งเมืองน่าน" 

 

จากบ้านมณีพฤกษ์ ลงมาตอนสาย เพื่อเดินทางไปยัง "บ่อเกลือ"

"หลีกทางหน่อยจ้าาาา"

ลงจากบ้านมณีพฤกษ์มา.. เข้าเส้น 1256 ระยะทางประมาณ 98 กิโล

พักคืนนี้ที่ ภูผิงหมอก (จองก่อนนะคะ ที่พักดีงาม น่ารักมาก)

Skill กินหมูกะทะคนเดียว คือ complete แล้ว

เดินเที่ยวในชุมชนสักพักนึง 

แล้วก็เดินทางกลับ...

เมืองผลิตหมอกจริงๆ