ค้นหาและแบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยวในไทย ลงทะเบียน เข้าสู่ระบบ
    • โพสต์-1
    maria •  กุมภาพันธ์ 28 , 2559

    21st Feb 2016




    "ขอบคุณ" ที่มีวันหยุดยาวช่วงปลายเทอมอย่างปีนี้ มันทำให้ได้เบรกได้พัก ได้หายอก-หายใจจริง ๆ ๆ ๆ (ไม่ค่อยเก็บอาการอันเป็นที่น่าหมั่นใส้ของหัวหน้างาน ผู้ว่าจ้าง )
    ต่อจากทริป "อ่างขาง ไม่อ้างว้าง" ปีที่แล้ว แพลนข้ามปีดิบดี จขบ.ทำหน้าที่ตัวตั้งตัวตีเปิดปฏิทินรัว ๆ หาวันหยุด  ยาวววววววว แล้วได้แก้ตัวให้กับกรุ๊ปเพราะ อ่างขาง ครั้งนั้น ไม่ได้นอนค้าง ทริปนี้ไม่ได้ "ต้องค้างกลางดอย" ให้ได้
    ทริปทัวร์ดอย 2 วัน 1 คืน เลยได้คลอดกะเขาสักที  เลือก ผาช่อ เป็นที่แรกของทริป เพราะแต่ละคนในกรุ๊ปยังไม่เคยไป
    .
    .

     ผา ช่อ หลายคนคงได้ไป และได้สัมผัส แต่ประสบการณ์ของ นทท. และนักเดินทางแต่ละคนต่างกัน  ผาช่อ ของจขบ. สวย ลงตัวด้วยอากาศ วิวทิวทัศน์ ใบไม้ที่ร่วงหล่นถ่มทับ และงามกว่านั้นเพราะป่าดันผลัดสีต้อนรับการเยือนของกลุ่มเรา ^^





    ผาช่อ เป็นปรากฏการณ์ที่ถูกกัดเซาะโดยธรรมชาติ ทำให้แผ่นดินที่เคยเป็นทางเดินของแม่น้ำในอดีตเปลี่ยนรูปร่างมาเป็นเสาดิน ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วาง

     

      ผาช่อ - Phachor

     "เป็น ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของลมฝนจนทำให้แผ่นดินที่เชื่อ กันว่าเมื่อหลายร้อยปี หรือพันปีก่อนบริเวณแห่งนี้เคยเป็นทางเดินของแม่น้ำปิง ซึ่งสังเกตได้จากก้อนกรวดหินกลมมนกระจัดกระจายอยู่ในเนื้อดินจำนวนมาก จนกระทั่งแม่น้ำปิงได้เปลี่ยนสายย้ายทิศไหลผ่านไปที่อื่น บริเวณนี้ก็ได้ถูกยกตัวเป็นเนินเขาสูง ตะกอนแม่น้ำปิงก่อตัวทับถมกันเป็นชั้นๆ ผ่านกลายเวลาและถูกกัดเซาะจนกลายเป็นหน้าผาและเสาดินที่มีรูปร่างแปลกตา คล้ายกับที่แพะเมืองผีในจังหวัดแพร่ หรือฝั่งต้าในจังหวัดพะเยา มีลาดลายที่สวยงามและมีขนาดใหญ่มีความสูงราว 30 เมตร สูง เทียบเรือนยอดไม้ ครอบคลุมพื้นที่อาณาบริเวณกว้าง หากคุณจะมาชมผาช่อต้องขับรถมาที่ตำบลยางคราม อำเภอดอยหล่อ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ จากนั้นติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานเป็นไกด์นำทางพาเดินเข้าไปชมผาช่อ ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง ก็เที่ยวได้ครบ กิ่วเสือเต้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถมาเที่ยวควบกันได้กับผาช่อ เป็นประติมากรรมธรรมชาติที่คล้ายกับผาช่อ อยู่ห่างจากผาช่อประมาณ 1 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลยางคราม , ตำบลเดียวกัน และมีความสวยงามไม่แพ้กัน ลวดลายแตกต่างออกไปแต่มีก้อนกรวดและหินที่มากกว่า มองเห็นได้ชัดเจนกว่าผาช่อและมีความสูงน้อยกว่าผาช่อ"

    ช่วงเวลาการท่องเที่ยว : ตลอดปี สวยที่สุดในฤดูหนาว

     

    ที่มา : http://thai.tourismthailand.org

     

    การเดินทาง : ผาช่อตั้งอยู่ภายในบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่วาง อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ หากเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ให้ไปตามทางหลวงหมายเลข 108 (เชียงใหม่ – ฮอด) ระยะทาง 21 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวาไปอำเภอแม่วางตามถนน รพช.12039 และถนน รพช. 10240 (แม่วิน – บ่อแก้ว) ระยะทางราว 36 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วาง เป็นถนนลาดยางอย่างดีตลอดเส้นทาง)






    การ ผลัดใบของป่าเต็ง รัง ทำให้เกิดสีสันตรงหน้า ส้ม เหลือง ปนเขียวอ่อน ยามที่ตะวันส่องแสงพาดผ่านใบไม้ สวยจับใจกับภาพกว้างไกลสุดลูกหู ลูกตาอย่างนี้ (ขออภัยที่ฝีมือการถ่ายรูปและกล้องได้แค่นี้ ถ้าเป็นเซียนกล้องคงได้ภาพสวยกว่า จขบ. แน่ ๆ ค่ะ)
    .
    .
    .



     

    เป็นถนนลาดยางอย่างดีตลอดเส้นทางก็จริง ติดตรงทางเข้าไปไม่กี่กิโลจะเป็นถนนดินลูกรังอย่างนี้ ส่วนตัวคิดว่าหน้าฝนรถเก๋งคงลำบากอยู่ แต่ก็พอขับได้ ขาไปเจอกลุ่มนักปั่นรักสุขภาพกลุ่มนึงด้วยค่ะ








     

     




     

    อย่าง ว่าแหล่ะค่ะ ล้อเลื่อนจากในเมืองประมาณ 6.30 น. มาถึงผาช่อเช้ามากค่ะ 7.30 น. คันแรก กรุ๊ปแรก นทท.ยังไม่มีเลย และเราก็แซงนักปั่นกันมาแล้วอย่างหวุดหวิด ณ นาทีนี้ ผาช่อ เราครอง 5555

     










    จอด รถ อ่านกฏ และข้อปฏิบัติ ประทับใจกับข้อห้ามของอุทยานที่นี่ มาแต่ตัว ควรกลับไปแต่ตัว หรือรูปภาพ และความประทับใจ ใครขโมยหินจาก อท. ปรับ 500 - 20,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ปลื้ม +++  อย่าลืม ปฏิบัติด้วยนะคะ



    ระยะทาง 400 เมตร จากจุดจอดรถด้านบน ถึง ผาช่อ ถือว่าไม่ลำบาก เพราะวิวด้านหน้า และสองข้างทางมีอะไร ๆ ให้ดู ให้ศึกษาตลอดทาง



     

    ผา ช่อ ของจขบ. สวย ลงตัวด้วยอากาศ วิวทิวทัศน์ ใบไม้ที่ร่วงหล่นถ่มทับ และงามกว่านั้นเพราะป่าดันผลัดสี การเดินอยู่ในบรรยกาศใบไม้หลากสีมันฟินดีนะ พูดเลย








    เส้นทางศึกษาธรรมชาติ


    หิน หลาก ชั้น





    เก็บภาพสักพัก เดินได้สักระยะ จะถึงทางขึ้น พอสุดทางขึ้นก็จะเจอ ผาช่อ ตั้งตระหง่านตรงหน้าค่ะ
    แต่ต้องผ่านด่านนี้ก่อนนะ แนทที้คนงามมีบ่นนิด ๆ เพราะอายุก็ย่าง 15 (กลับเอง) ปีเอง ส่วนจขบ. สบม. ค่ะ  ไปกันค่ะ ลุย ๆ ๆ


     

    ตรงทางขึ้นซึ่งเป็นทางเข้าผาช่อ "ม่อนลองแฮง" - เนินพิสูจน์กำลัง (แปล) จะเป็นทางบรรจบกับ "ฮ่อมกองกีด" - ทางแคบ (แปล - ส่วน ฮ่อม นี่แม้จะเป็นคนเมืองก็ยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงค่ะ) ซึ่งเป็นทางออกจากผาช่อค่ะ


    จากรุป มองผ่านใบไม้แดง จขบ.อยู่ตรงทางขึ้น - เข้า แล้วส่องเห็นทางออกค่ะ





    แมน ๆ ๆ มาถึงก่อนละ












    สองพ่อ ลูก ระวังสุดพลัง














    ทางที่เพิ่งลงมา กับ ใบไม้ที่เปลี่ยนสี



    มีแค่เรา นนท. ยังไม่มากัน ข้อดีของการออกตัวเช้า ๆ ๆ









    กับตะวันทีเพิ่งมาเช่นกัน
































    .
    .
    .



     

    • โพสต์-2
    maria •  กุมภาพันธ์ 28 , 2559



    ......

    เราเที่ยว ชมได้สักพักใหญ่ ๆ เก็บภาพจนหนำใจกันแล้ว
    เสียง นับ ยี่ เอ๋อ ซาง ของ นทท.ต่างภาษาบ่งบอกกับเราว่า กรุ๊ปเราคงต้องละสถานที่อันอลังฯ นี้กันละ  และแน่นอนเดินกลับทางออกที่รอคอยว่า จะ "กีด" สักแค่ไหน
     

     






     

     ขาออก จขบ.เห็นหินกอง ๆ กันอย่างนี้ ส่วนตัวไม่ได้คัดค้านต่อต้านอะไร สวยดี

    แต่สิ่งที่เห็นแล้วเสียใจคือ ตัวหนังสือบนหน้าผา สลักชื่อของคน ๆ นึงที่มักง่ายไว้

    มาแต่ตัว กลับแต่ตัว เก็บแต่รูปภาพและความประทับใจ
    การทิ้งร่องรอยไว้ไม่งามตาแก่ผู้พบเห็น ทำลายธรรมชาติ

    อยากให้คน ๆ นั้นได้เข้าใจ แก้ไขตัว


     

    ป่าผลัดสีที่ผาช่อ  -  mariabamboo.bloggang.com

    "ฮ่อมกองกีด"   -     "กีด - แคบ"  สมชื่อ






     
    คุยกับแนทที้ว่า ผาช่อคงสวยทุกฤดู ถ้ามาหน้าฝนคงได้ฟินกับมอส และตะไคร้น้ำเขียวสด



    ใบไม้ร่วงหล่น ทับถม หลักฐานของการกาล


     


     





     






    ร่วงหล่น ทับถม  ผลิใบ เริ่มต้นใหม่ และวนเวียน









    ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

    เยี่ยม Real blog ได้ที่ www.mariabamboo.bloggang.com