วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร เจดีย์ 9 ชั้น จ.ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา (จากวิกิพีเดีย)

                     วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพีย เมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ. 2354 ท้าวจามมุตรท้ายเพีย เมืองแพง เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่ดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ต.แพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม)

                      พระมหาธาตุแก่นนคร ตั้งอยุ่ที่ถนนกลางเมืองริมขึงแก่นนคร อ.เมือง ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่า ซึ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ยมกง้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระะาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรบครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานะสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุละาตุ 4 องค์ ตั้งอยุ่ 4 มุมและมีกำแพงแก้ว พญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอิสานปากแห วัดหนองแวก 

ตอนแรกที่เดินเข้าไป ด้านรอบๆ พระเจดีย์ นี้จะร้อนหน่อย แต่ยังเช้าอยู่ก็เลยไม่ค่อยร้อนมาก แต่เข้าไปข้างในพระเจดีย์แล้ว บอกเลยว่าเย็นสบายมาก เลยค่ะ เจดีย์นี้จะมีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้น จะแบ่งเป็นโซนต่างๆ 

ชั้นที่ 1 จะเป็นหอประชุมมีพระบรมสารีลิกธาตุ ประดิษฐานอยู่บนบุษบกและพระประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง จะพบกับพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ 100 องค์ ที่บรรจุอยุ่ในโถแก้ว จะอยู่ในตู้กระจกด้านซ้ายมือของที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ถัดจากโถงตรงกลางมาด้านซ้ายมือประมาณสองเมตร จะเป็นโต๊ะที่เตรียมไว้สำหรับตักบาตรที่เรียกว่า "ตักบาตร 108" โดยใช้เหรียนในการตักบาตรนั้น ทั้งนี้เชื่อว่าหากใครได้ตักบาตรซึ่งสมมติว่าเป็นตัวแทนพระสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้ง 108 องค์ และจะเกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว 

ด้านหลังจะมีพระประธานให้กราบไหว้ด้วยค่ะ

ภาพนี้จะเป็นมุมสูงของ ชั้น 2

 

ช่วงสายหน่อยจะมีการบรรเลงและขับร้องเพลงไทย โดยมีเครื่องดนตรี หลักคือ ระนาดเอก, ซอ, และขิม ค่ะ จะมีคุณยายมาร้องให้ฟัง ไพเราะมาก ตอนแรก เดินๆอยู่นึกว่ามีคนเปิดเทป แต่หลังจากลงมาจากพระเจดีย์แล้ว ถึงเห็นว่ามีคนนั่งขับร้องอยู่

ชั้นที่ 2 จะเป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอิสาน โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่คอนข้างหาดูได้ยากในปัจจุบัน ค่ะ

ชั้นที่่ 3 เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์ ปละภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม ในชั้นที่ สามนี้ได้รวบรวมตลปัตร พัตยศ และเครื่องดัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่นด้วยค่ะ

 

ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมของเก่า บานประตู หน้าต่าง ภาพพระประจำวันเกิด เทพปรจำทิศ

ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร

ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันต์สาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตมีย์มีใบ้

ชั้นที่ 8 เป็นหอพระะรรมเป็นที่รวบรวมพระธรรม คำภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏก ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น

 

ชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักภาพ 3 มีติ รูปพรหม 16 ชั้น และสามารถชมทัศนียภาพของตัวเมืองขอนแก่นได้ทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบึงแก่นนครที่สวยงาม