กราบไหว้พระขาวสิ่งศักดิ์สิทธิของชาวมอญ ณ วัดเจดีย์ทอง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ปทุมธานี เอกลักษณ์ของวัด คือ เจดีย์สีทอง ที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบมาจากเจดีย์จิตตะกองของพม่าเป็นเจดีย์ทองผสมสีขาวรูปแบบรามัญทรงระฆัง ยอดเจดีย์เป็นปล้องไฉนก่อด้วยอิฐฐานสี่เหลี่ยมสวยงาม ภายในประดับด้วยกระจกสี และยอดจะประดับด้วยฉัตร 9 ชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูป คือพระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์คือพระพุทธรูปหยกขาว ศิลปะล้านนา

หลวงพ่อขาว
หลวงพ่อขาวถูกอัญเชิญมาประดิษฐ์สถาน ณ วัดเจดีย์ทอง เมื่อวันที่ 16 พฤจิกายน พ.ศ.2452 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำเดือน 12 ปี ระกา เจศ 1271 ร.ศ 128
โดยพระ อมรา ภิรกขิต นามภิกขุ เป็นผู้สร้างถวายวัดเจดีย์ทอง

หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปลักษณะปางมารวิชัย สร้างจากหินหยกขาวพม่าแกะสลักด้วยมือ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอก ตั้งแต่ฐานจรดถึงเกศสูงประมาณ 2 ศอก เป็นศิลปะกรรมแบบมอญ มีอายุราวๆ 100กว่าปี นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะสวยงามมีความงดงาม โดยประดิษฐานอยู่ที่หอสวดมนต์ ของวัดเจดีย์ทอง

ความเป็นมาของหลวงพ่อขาว
ครั้งหนึ่งได้มีพระภิกษุรามัญองค์หนึ่งมีชื่อว่าพระอมราภิกขุ ซึ่งท่านเป็นเครือญาติของท่านอาจารย์ น้อย คุณสาโร เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ทองในสมัยนั้น ซึ่งตัวท่านเองก็ได้อุปสมบท ณ วัดเจดีย์ทองแห่งนี้ แล้วท่านก็ได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่เมืองหงษาวดี ขณะที่ท่านเดินทางกลับจากการไปศึกษาเล่าเรรียนมาถึง ณ เมืองมะละแหม่ง ท่านได้พบกับพระภิกษุรูปหนึ่งจึงได้สนทนาปราศรัยกันจึงทราบว่าท่านมีนามว่า พระอาจารย์ ต่วน เป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ศรัทธากะยาราม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งท่านได้เล่าเรียนอยู่ที่เมืองมะละแหม่งนั่นเองและกำลังจะกลับเมืองไทย จึงได้ชวนกันไปเดินเที่ยวชมจนได้เจอร้านจำหน่ายพระพุทธรูปร้านหนึ่ง ซึ่งท่านได้เห็นพระพุทธรูป 2 องค์มีลักษณะสวยงามมาก สร้างจากหินหยกแก้วขาวเนื้อดีมากจึงได้ติดต่อขอเช่าและอัญเชิญกลับมาบูชาที่เมืองไทย โดยนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดเจดีย์แห่งนี้ 1 องค์ซึ่งก็คือหลวงพ่อขาว องค์นี้และอีก1องค์ ได้นำไปประดิษฐานที่วัดราษฎร์ศรัทธากะยาราม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปที่มีความสวยงามเป็นอย่างมากยิ่งหากมองนานๆก็จะไม่เบื่อตา อีกทั้งยังมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงเป็นที่นับถือกันเป็นอย่างมาก สำหรับชาวบ้านเจดีย์ทองแห่งนี้แบะชาวบ้านระแวกใกล้เคียง หากใครได้กราบไหว้ขอพรก็จะสมมาตรปรารถนา

การเดินทาง
การเดินทางใช้เส้นทางสายปทุมธานี-สามโคก(เส้นทางเดียวกับวัดโบสถ์ สามโคก) ประมาณ 8 กิโลเมตรและแยกขวาเข้าซอยวัดอีกประมาณ 500 เมตร หากไปไม่ถูกค้นหาใน GoogleMapได้เลย