ค้นหาและแบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยวในไทย ลงทะเบียน เข้าสู่ระบบ
Pote' Entaneer
  1. วัดเชียงมั่น พุทธศาสนสถานอีกหนึ่งแห่ง ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญสำหรับชาวเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง วัดที่เก่าแก่ที่ สุดในตัวเมืองเชียงใหม่และถือเป็นวัดแห่งแรกในเขตกำแพงเมือง เมื่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1839 พระองค์ทรงยกพระตําหนักที่ประทับชื่อ ตําหนักเชียงมั่นถวายเป็นพระอารามใหม่ชื่อว่า วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสําคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่นอกจากวัดเชียงมั่นจะมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของ เมืองเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในเขตกำแพงเมืองแล้ว เมื่อถึงเทศกาลสลากภัตร หรือ ทานก๋วยสลาก จะมีการทานข้าวสลากที่วัดนี้ก่อนแล้วจึงจะทำที่วัดอื่น ๆ ต่อไป ในสมัยพญามังราย วัดเชียงมั่น ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกด้วย นอกจากนี้ วัดเชียงมั่นเป็นสถานที่รวบรวมโบราณ วัตถุ จำนวนมาก ซึ่งอาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุของวัดเชียงมั่นประกอบไปด้วย วัดเชียงมั่นมี สถาปัตยกรรม สําคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช่างล้อม พระอุโบสถและหอไตร
    1. ตุลาคม 2559
      สถานที่เช็คอิน
      • 0จังหวัด
      • 1สถานที่
      • 2รูปภาพ
    2. สถานที่
  1. เจดีย์ช้างล้อม เป็นเจดีย์รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาฐานช้างล้อม องค์เจดีย์ผสมสี่เหลี่ยมและทรงกลมเปิดทองจังโก สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1840ครั้งพญามังรายสถาปนาวัดเชียงมั่น และได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากผู้ครองนคเชียงใหม่สืบมา กรมศลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเมื่อ พ.ศ. 2478
  1. เจดีย์เจ็ดยอด เป็นโบราณสถานที่สำคัญที่สุดของวัด เชื่อว่าถ่ายแบบมาจากมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 เมื่อ พ.ศ.2020 พระเจ้าติโลกราชโปรดฯ ให้จัดการประชุมพระเถรานุเถระทั่วทุกหัวเมืองในอาจักรล้านนา และทรงคัดเลือกได้พระธรรมทิณ เจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้จัดเจนในพระบาลีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระองค์ทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดนี้ใช้เวลาปีหนึ่ง จึงสำเร็จ เป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่ลำดับที่ 8 โดยทำมาแล้วทั้งในอินเดียและศรีลังการวมเจ็ดครั้ง และเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ลายปูนปั้น บนผนังด้านนอกองค์เจดีย์เจ็ดยอดมีงานประติมากรรมปูนปั้น เป็นภาพเทพยดานั่งขัดสมาธิเพชร ประนมหัตถ์อยู่กลางพระอุระ กับภาพเทพดาพนมมือยืน ทรงเครื่องภษาภรณ์ อันเป็นสมัยนิยมในหมู่ชนชั้นสูงสมัยโบราณ สวมเครื่องศิราภรณ์ทรงเทริด มีทั้งแบบทรงสูงและทรงเตี้ย สังเกตบนยอดศิราภรณ์ประดิษฐ์ด้วยลายวิจิตรแตกต่างกันไปในแต่ละองค์ เช่น ลายกระจับ ลายดอกบัว ลายหน้ากาล ลายดอกไม้ ฯลฯ เป็นที่น่าชมยิ่ง บนพื้นผนังเป็นลายดอกไม้ร่วงคล้ายลายถ้วยชามสมัย ราชวงศ์เหม็งของจีน นอกจากนี้ยังมีลายประดับหัวเสาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา แม้พม่ายังรับเอาไปและเรียกกว่า “ลายเชียงใหม่”
    1. กันยายน 2559
      สถานที่เช็คอิน
      • 0จังหวัด
      • 2สถานที่
      • 4รูปภาพ
    2. สถานที่
  1. ราวปี พ.ศ.1999 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ 11 ของอาณาจักรล้านนาไทย โปรดฯ ให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างทำการก่อสร้างอารามขึ้น แล้วโปรดฯ ให้ปลูกต้นมหาโพธิ์ในบริเวณพระอารามแห่งนั้น เพราะเหตุที่มีต้นมหาโพธิ์อยู่ในวัด จึงปรากฏชื่อว่า “วัดโพธารามมหาวิหาร” เจ้าอาวาสองค์แรกคือ พระโพธิรังสีมหาเถระ ผู้ตนนาคัมภีร์จามเทวีวงศ์
  1. 26 ก.ย.
    โดย Facebook  

    Pote' Entaneer

      สามกษัตริย์

    น้ำทิพย์เจือโลหิต ของสามกษัตริย์ตรา ฮ่วมดื่มน้ำสัตยา ทรงทำสัตย์ปฏิญาณ ฮื่อลูกหลาน ได้สุข ฮ่มเย็น พญามังรายเจ้า พ่อขุนรามคำแหง พ่อพญางำเมือง ฮ่วมสร้างเวียงธานี นพบุรี ศรีนครพิงค์ ฮื่อละเว้นก๋านศึกสงคราม ผูกไมตรีปรองดอง เชียงแสนเขลาง สุโขทัย หริภุญชัย พะเยา เวียงกุมกาม แว่นแคว้นแดนล้านนาไทย สืบเจ่นไป ใต้ธงสยาม กู้สายน้ำแม่ปิงงาม เจ็ดร้อยกว่าเข้ายาม เลิศล้ำ ล้านนาไทย