Search and share travel destinations and experiences in Thailand Sign up Log in
October 2018
February 2015
July 2014
February 2014
January 2014
  1. ฝูงปลาพลวงแหวกว่ายสายน้ำยามบ่าย ที่อช.ถ้ำปลาน้ำตกผาเสื่อ แม่ฮ่องสอน
November 2012
  1. เคยได้ยินชื่อ “ถ้ำปลา” มาตั้งนานแล้วแต่ยังไม่เคยมีโอกาสแวะเวียนไปเที่ยวซักที แถมถ้ำปลายังอยู่ไกลถึงแม่ฮ่องสอนเราจึงได้แต่เก็บชื่อนี้ไว้ในใจ พอสบโอกาสเดินทางผ่านมาไกลนับพันโค้งแล้วเราเลยขอโฉบเข้าไปเที่ยวให้เห็นกับตาตัวเองกันไปเลย
November 2011
  1. วนอุทยานถ้ำปลา แม่ฮ่องสอน ถ้ำปลาหรือวนอุทยานถ้ำปลา มีลักษณะเป็นธารน้ำไหลออกมาจากใต้ภูเขาหิน ด้านหน้าภูเขาจะเป็นวังน้ำ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปลาพลวง ปลาพลวงเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามน้ำตกและธารน้ำในป่า ไม่สามารถที่จะรับประทานได้ เพราะอาหารของปลาชนิดนี้คือลูกไม้ในป่าที่หล่นลงมาในน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีพิษเมื่อปลากินเข้าไปจึงทำให้เนื้อของปลามีพิษไปด้วย จึงไม่มีใครนิยมรับประทานปลาชนิดนี้ กิจกรรมการท่องเที่ยวของที่นี่ คือ การเที่ยวชมและให้อาหารฝูงปลาพลวงนั่นเอง แต่สิ่งที่หน้าตื่นเต้นมากก็คือปลาพลวงบริเวณถ้ำปลาแห่งนี้จะมีจำนวนเยอะมาก และมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น ๆ บางตัวมีสีดำเมื่อม ถ้ำปลาอยู่ระหว่างทางที่จะไปอำเภอปางมะผ้าและอำเภอปาย จากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนมาตามทางที่จะไปอำเภอปายประมาณ ๑๗ กิโลเมตร ถ้ำปลาจะอยู่ซ้ายมือ มีลานจอดรถไว้บริการและต้องเดินเท้าเข้าไปชมปลาพลวงอีกประมาณ ๕๐๐ เมตร บริเวณลานจอดรถมีร้านขายอาหารอยู่มากมายหลายร้าน อาหารส่วนใหญ่เป็นพวกส้มตำไก่ย่าง ที่นี่เข้าชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ต้องกรอกรายชื่อลงทะเบียนเพื่อเข้าชม หากมีเวลาก็น่าแวะชมเป็นการพักผ่อนอริยาบทระหว่างการเดินทาง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกผาเสื่อ และถ้ำปลา ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผา ต.ห้วยผา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กม. ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (แม่ฮ่องสอน-ปาย) เส้นทางราดยางเรียบร้อยสามารถเดินทางไปชมได้ทุกฤดูกาล บริเวณโดยรอบเป็นลำธารและป่าเขา ถ้ำปลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่กว้างประมาณ 2 ม. ลึก 1.50 ม. ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา และมีปลาตัวโตๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกชื่อ ว่าปลามุงหรือปลาคังหรือปลาพลวงเป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ในวงศ์เดียวกับปลาคาร์พ และถึงแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครกล้าทำอันตราย เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า หากใครนำไปรับประทานแล้วจะต้องมีอันเป็นไป ปัจจุบันบริเวณวนอุทยานถ้าปลาได้รับการปรับปรุงเป็นแหล่งพักผ่อน
  1. people vote
    • 3
      thumbs up
    • 0
      thumbs down
  2. Map
  3. Graphs of happiness